วันอังคารที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2561


ประวัติหอไอเฟล






ประวัติหอไอเฟล
“ลา ตูค์ อิฟเฟล” (La Tour Eiffel) ในภาษาฝรั่งเศส หรือ หอไอเฟล ถือเป็นสัญลักษณ์ของประเทศฝรั่งเศส
หอไอเฟลเป็นหอคอยสร้างด้วยโครงเหล็ก สูงถึง 300 เมตร ตั้งอยู่บนถนน ชองป์ เดอ มารส์ บริเวณแม่น้ำแซน ในกรุงปารีส หอคอยแห่งนี้เป็นเสมือนสัญญลักษณ์ของประเทศฝรั่งเศส ตั้งชื่อตามสถาปนิกผู้ออกแบบ คือ“กุสตาฟ ไอเฟล” เป็นวิศวกรและสถาปนิกชาวฝรั่งเศส เป็นปรมาจารย์ในด้านการก่อสร้างด้วยเหล็กและมีความสามารถในการสร้างสะพาน เป็นต้นว่า สะพานข้ามแม่น้ำดูโร (Douro) ในตอนเหนือของประเทศโปรตุเกส ซึ่งจัดได้ว่าเป็นสะพานที่มีช่วงกว้างที่สุดในเวลานั้น ถูกออกแบบมาเพื่อใช้เป็นงานศิลปะชิ้นเอกในงานมหกรรมแสดงสินค้านานาชาติที่ประเทศฝรั่งเศสเป็นเจ้าภาพในปี ค.ศ.1890 เพื่อเฉลิมฉลองวันครบรอบ 100 ปี แห่งการปฏิวัติประเทศฝรั่งเศส ทั้งนี้เพื่อแสดงความยิ่งใหญ่ ความร่ำรวย
 และความสำเร็จในยุคอุตสาหกรรมของประเทศ

ภาพวิวัฒนาการการก่อสร้างหอไอเฟล

ในสมัยนั้น หอไอเฟลถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก เนื่องจากมีการออกแบบการก่อสร้างที่มีความผิดแผกแตกต่างจากการสิ่งก่อสร้างในอดีต ไม่เข้ากับอาคารบ้านเรือนและโบสถ์เก่าแก่ในเมือง ดูแล้วไร้ซึ่งความเป็นศิลปะ และทำลายทัศนียภาพของกรุงปารีส ถึงกับถูกศิลปินแขนงต่างๆ ประณามว่า “หอไอเฟลคือความอัปลักษณ์บนใบหน้าของปารีส” เลยทีเดียว แต่ท่ามกลางเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรงและยาวนาน ชาวบ้านก็ชื่นชอบหอไอเฟลมากขึ้นเรื่อยๆ ถึงขนาดออกมาโห่ร้องให้กำลังใจ ตอนที่กุฟตาฟ ไอเฟล เดินขึ้นบันได 1,710 ขั้น เพื่อนำธงชาติฝรั่งเศสไปประดับไว้บนยอดสูงสุดของหอคอย (และแน่นอนว่าเขาเป็นคนแรกที่เดินขึ้นไป!) จากตอนแรกที่รัฐบาลตั้งใจว่าจะจัดแสดงศิลปะเอกชินนี้เป็นการชั่วคราวเท่านั้น แบบว่าจบงานแล้วก็รื้อทิ้ง กลายเป็นว่าสุดท้ายทางการสื่อสารมวลชนของประเทศก็ตัดสินใจให้เก็บหอไอเฟลไว้ใช้เป็นสถานีรับส่งสัญญาณวิทยุ ต่อมามีการสร้างศูนย์วิทยุขึ้นอย่างถาวร และยังคงใช้มาถึงปัจจุบันนี้ ในที่สุดงานศิลปะชั่วคราวก็กลายเป็นสัญลักษณ์ของประเทศฝรั่งเศสเป็นสิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลกเป็นเวลากว่า 40 ปี

FUN FACTS
หอไอเฟลสร้างเสร็จ และมีพิธีเปิดวันที่ 31 มีนาคม 2432 และกลายเป็นสิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลกแทนอนุสาวรีย์วอชิงตัน จนกระทั่งเสียตำแหน่งให้แก่ตึกไครส์เลอร์ (319 เมตร หรือ 1,047 ฟุต) ไปในปี พ.ศ. 2473 (ค.ศ. 1930)หอไอเฟลเป็นสิ่งปลูกสร้างสูงที่สุดในกรุงปารีส ถ้าเปรียบเทียบกับตึกแล้วจะมีประมาณ 75 ชั้น หอไอเฟลแกว่งตัวได้ตามแรงลม แกว่งได้ถึง 6-7 เซ็นติเมตร!
พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์







(ฝรั่งเศส: Musée du Louvre) หรือในชื่อทางการว่า the Grand Louvre เป็นพิพิธภัณฑ์ทางศิลปะตั้งอยู่ในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์เป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีชื่อเสียงที่สุด เก่าแก่ที่สุด และใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ซึ่งได้เปิดให้สาธารณชนเข้าชมได้เมื่อปี พ.ศ. 2336 (ค.ศ. 1793) มีประวัติความเป็นมายาวนานตั้งแต่สมัยราชวงศ์กาเปเซียง ตัวอาคารเดิมเคยเป็นพระราชวังหลวง ซึ่งปัจจุบันเป็นสถานที่ที่จัดแสดงและเก็บรักษาผลงานทางศิลปะที่ทรงคุณค่าระดับโลกเป็นจำนวนมากกว่า 35,000 ชิ้น จากตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์จนถึงศตวรรษที่ 19 อย่างเช่น ภาพเขียนโมนาลิซา, The Virgin and Child with St. Anne, Madonna of the Rocks ผลงานของเลโอนาร์โด ดาวินชี หรือภาพ Venus de Milo ของอเล็กซานดรอสแห่งแอนทีออก ในปี พ.ศ. 2549 พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์มีผู้มาเยี่ยมชมเป็นจำนวน 8.3 ล้านคน ทำให้เป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีผู้มาเยี่ยมชมมากที่สุดในโลกและยังเป็นสถานที่ที่มีนักท่องเที่ยวมาเยือนมากที่สุดในกรุงปารีส



แม่น้ำแซน









La Seine เป็นเเม่น้ำสายสำคัญอีกสายของฝรั่งเศสที่มีความเเก่าเเก่โบราณ จะว่าไปเเล้วก็คงจะคล้ายๆ กับเเม่น้ำเจ้าพระยาในกรุงเทพมหานคร นั่นเอง โดยเเม่น้ำสายนี้มีความยาว 776 กิโลเมตร ไหลลงมาจากฝรั่งเศสตอนเหนือจนผ่านลงมายังกรุงปารีส เเละกลายมาเป็นเเหล่งท่องเที่ยวที่มีความสวยงามเเละสำคัญอีกเเห่งที่ใครมาเที่ยวปารีสเเละจะต้องเเวะมาเที่ยวชมความสวยงามของเเม่น้ำสายนี้

วันจันทร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2561

LES SAISONS.
Les saisons.- Le  printemps  commeuce le 21 more et fini le 20 juin.
- L'été commeuce le 21 juin et fini le September.
- L'automne commeuce le 21 september et fini le 20 décembre.
- L'hirese commeuce le 21 september et fini  le 20 mancle.😃😃☺


อาร์กเดอทรียงฟ์เดอเลตวล (ฝรั่งเศส: Arc de triomphe de l'Étoile) หรือที่รู้จักกันในชื่อ ประตูชัยฝรั่งเศส เป็นอนุสรณ์สถานที่สำคัญในกรุงปารีสประเทศฝรั่งเศส ตั้งอยู่กลางจัตุรัสชาร์ล เดอ โกล

 (Place Charles de Gaulle) หรือเป็นที่รู้จักกันในนาม "จัตุรัสแห่งดวงดาว" (Place de l'Étoile) อยู่ทางทิศตะวันตกของช็องเซลีเซ ประตูชัยแห่งนี้สร้างขึ้นเพื่อเป็นการสดุดีวีรชนทหารกล้าที่ได้ร่วมรบเพื่อประเทศฝรั่งเศส โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสงครามนโปเลียน และในปัจจุบันยังเป็นสุสานของทหารนิรนามอีกด้วย

ประตูชัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของ "แกนกลางอันเก่าแก่" (L'Axe historique) ซึ่งเป็นถนนเส้นตรงจากสวนพิพิธภัณฑ์ลูฟวร์ไปยังชานกรุงปารีส ประตูชัยแห่งนี้ออกแบบโดยฌ็อง ชาลแกร็งในปี พ.ศ. 2349 โดยมียุวชนเปลือยชาวฝรั่งเศสกำลังต่อสู้กับทหารเยอรมัน เต็มไปด้วยเคราและใส่เกราะเป็นสัญลักษณ์เพื่อเป็นการปลุกใจ และเป็นอนุสรณ์สถานจนกระทั่งสงครามโลกครั้งที่ 1

อาร์กเดอทรียงฟ์มีความสูง 49.5 เมตร (165 ฟุต) กว้าง 45 เมตร (148 ฟุต) และลึก 22 เมตร (72 ฟุต) เป็นประตูชัยที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลกที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน[1] แบบของอาร์กเดอทรียงฟ์นี้ได้แนวความคิดมาจากประตูชัยไตตัส อาร์กเดอทรียงฟ์มีความใหญ่มาก เพราะหลังจากมีการสวนสนามในปรุงปารีสเมื่อปี พ.ศ. 2462 ชาร์ล โกดฟรัว ได้ขับเครื่องบินนีอูปอร์ต (Nieuport) ผ่านกลางอาร์กเดอทรียงฟ์เพื่อเป็นการสดุดีเหล่าทหารอากาศที่ได้เสียชีวิตในสงครามโลกครั้งที่ 1 
อาร์กเดอทรียงฟ์เป็นหนึ่งในอนุสรณ์สถานที่โด่งดังที่สุดแห่งหนึ่งของกรุงปารีส ได้ถูกมอบหมายให้สร้างในปี พ.ศ. 2349(รัชกาลที่ 1 พ.ศ. 2325-2352 ราชวงศ์จักรี) หลังจากจักรพรรดินโปเลียนที่ 1ได้รับชัยชนะในยุทธการเอาสเตอร์ลิทซ์ กว่าจะวางรากฐานของการก่อสร้างก็ใช้เวลาเกือบ 2 ปีไปแล้ว และในปี พ.ศ. 2353 เมื่อจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 เสด็จกรุงปารีสจากทางทิศตะวันตกพร้อมด้วยเจ้าสาว อาร์คดัชเชสมารี หลุยส์แห่งออสเตรีย อาร์กเดอทรียงฟ์ก็ถูกสร้างขึ้นด้วยไม้ในแบบจำลองเท่านั้นเอง สถาปนิกฌ็อง ชาลแกร็งได้เสียชีวิตลงในปี พ.ศ. 2354 ดังนั้นอูยงจึงได้ดูแลงานนี้ต่อมา ในช่วงราชวงศ์บูร์บงฟื้นฟู การก่อสร้างได้หยุดชะงักลงและไปเสร็จสิ้นในรัชสมัยพระเจ้าหลุยส์-ฟิลิปป์ ในระหว่าง พ.ศ. 2376 - พ.ศ. 2379 โดยสถาปนิกคือกูสต์ ต่อมาคืออูโยต์ ภายใต้การดูแลของหลุยส์-เอเตียน เอรีการ์ เดอ ตูว์รี (Louis-Étienne Héricart de Thury)

การออกแบบ
ตั้งแต่การล่มสลายของจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ในปี พ.ศ. 2358 แล้ว ประตูชัยได้กลายเป็นสัญลักษณ์แห่งสันติ ซึ่งได้มีการเฉลิมฉลองกันในปีเดียวกันนั้นด้วย

แบบของประตูชัยนั้น ฌ็อง ชาลแกร็งเป็นผู้ออกแบบ ในรูปแบบศิลปะนีโอคลาสสิก ที่ได้ดัดแปลงมาจากสถาปัตยกรรมโรมันโบราณ ช่างแกะสลักที่สำคัญของประเทศฝรั่งเศสนั้นก็ได้มีส่วนร่วมในรูปแกะสลักของอาร์กเดอทรียงฟ์ด้วย เช่น ฌ็อง-ปีแยร์ กอร์โต, ฟร็องซัว รูด, อ็องตวน เอแต็กซ์, เจมส์ ปราดีเย และฟีลิป โฌแซ็ฟ อ็องรี ลาแมร์ รูปแกะสลักที่สำคัญไม่ได้เป็นลวดลายยาวบนกำแพง แต่เป็นรูปแกะสลักลอยตัวที่เป็นสัญลักษณ์แห่งชัยชนะติดกับตัวประตูชัย



ประเทศฝรั่งเศส

ฝรั่งเศส (ฝรั่งเศส: France [fʀɑ̃s] ฟร็องส์) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐฝรั่งเศส (ฝรั่งเศส: République française) เป็นประเทศที่มีศูนย์กลางตั้งอยู่ในภูมิภาคยุโรปตะวันตก ทั้งยังประกอบไปด้วยเกาะและดินแดนอื่น ๆ ในต่างทวีป ประเทศฝรั่งเศสแผ่นดินใหญ่ทอดตัวตั้งแต่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนจนถึงช่องแคบอังกฤษและทะเลเหนือ และจากแม่น้ำไรน์จนถึงมหาสมุทรแอตแลนติก ชาวฝรั่งเศสมักเรียกแผ่นดินใหญ่ว่า หกเหลี่ยม (L'Hexagone) เนื่องจากรูปทรงทางกายภาพของประเทศ ประเทศฝรั่งเศสปกครองด้วยระบอบกึ่งประธานาธิบดี โดยยึดอุดมการณ์จากปฏิญญาว่าด้วยสิทธิของมนุษย์และของพลเมือง

ประเทศฝรั่งเศสมีพรมแดนติดกับประเทศเบลเยียม ลักเซมเบิร์ก เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ อิตาลี โมนาโก อันดอร์ราและสเปน และเนื่องจากประเทศฝรั่งเศสมีดินแดนโพ้นทะเลไว้ในครอบครอง ทำให้มีอาณาเขตติดกับประเทศบราซิล ซูรินาม (ติดกับเฟรนช์เกียนา) และซินต์มาร์เตินของเนเธอร์แลนด์ (ติดกับแซ็ง-มาร์แต็ง) อีกด้วย นอกจากนั้นประเทศฝรั่งเศสยังเชื่อมกับสหราชอาณาจักรทางอุโมงค์ช่องแคบอังกฤษอีกด้วย

ประเทศฝรั่งเศสเคยเป็นหนึ่งในประเทศมหาอำนาจของโลกตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19 จักรวรรดิฝรั่งเศสเป็นหนึ่งในประเทศจักรวรรดินิยมที่มีอาณานิคมในครอบครองมากที่สุดในโลก แผ่อาณาเขตตั้งแต่แอฟริกาตะวันตกจนถึงเอเชียอาคเนย์ ซึ่งเห็นได้ชัดจากอิทธิพลทางวัฒนธรรม ภาษาและการเมืองการปกครองของดินแดนนั้น ๆ ประเทศฝรั่งเศสถูกจัดให้เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วและมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 6 ของโลก ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศที่มีนักท่องเที่ยวมากที่สุดในโลกอีกด้วย โดยมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติกว่า 82 ล้านคนต่อปี ประเทศฝรั่งเศสเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรปและมีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มประเทศอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหประชาชาติ เป็นสมาชิกประชาคมผู้ใช้ภาษาฝรั่งเศสโลก จีแปด นาโต้และสหภาพละตินประเทศฝรั่งเศสยังเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติและเป็นมหาอำนาจนิวเคลียร์ที่มีหัวรบนิวเคลียร์กว่า 360 หัวรบและเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ 59 แห่ง

นิรุกติศาสตร์และประวัติของชื่อ


คำว่า ฝรั่งเศส (France) มาจากคำในภาษาละตินว่า Francia ซึ่งแปลตามตรงว่า ดินแดนของชาวแฟรงก์ (Frankland) และมีหลายทฤษฎีที่สันนิษฐานถึงที่มาของคำว่า แฟรงก์ (Franks) ซึ่งหนึ่งในนั้นคือคำในภาษาโปรโต-เยอรมันว่า Frankon ซึ่งแปลว่า หลาว หอก หรือทวนซึ่งเป็นอาวุธของพวกแฟรงก์ เป็นที่รู้จักกันในชื่อ ฟรานซิสกา (Francisca)


อีกทฤษฎีหนึ่งตามหลักนิรุกติศาสตร์คือในภาษาเยอรมันโบราณ คำว่า แฟรงก์ แปลว่าอิสระ ซึ่งตรงกันข้ามกับความเป็นทาส โดยคำดังกล่าวยังคงปรากฏในภาษาฝรั่งเศสปัจจุบันในรูป ฟรังก์ (Franc) ซึ่งเป็นสกุลเงินของประเทศฝรั่งเศสจนกระทั่งเปลี่ยนเป็นสกุลเงินยูโรในปี พ.ศ. 2545

ในปัจจุบันประเทศเยอรมนียังเรียกประเทศฝรั่งเศสว่า Frankreich ซึ่งแปลว่า อาณาจักรของชาวแฟรงก์ อีกด้วย

ภูมิศาสตร์
         ขณะที่ประเทศฝรั่งเศสภาคพื้นทวีปยุโรป (La Métropole หรือ France métropolitaine) ตั้งอยู่ในภูมิภาคยุโรปตะวันตก ฝรั่งเศสก็ยังมีดินแดนที่ตั้งอยู่ในทวีปอเมริกาเหนือ ทะเลแคริบเบียน อเมริกาใต้ มหาสมุทรอินเดียทางตะวันตกและทางใต้ มหาสมุทรแปซิฟิกใต้ รวมทั้งบางส่วนในทวีปแอนตาร์กติกาอีกด้วย (การอ้างสิทธิเหนือดินแดนในแอนตาร์กติกาไม่ได้รับการยอมรับจากหลายประเทศ ดู สนธิสัญญาแอนตาร์กติก)



ประเทศฝรั่งเศสภาคพื้นทวีปยุโรปนั้นมีพื้นที่ 543,935 ตารางกิโลเมตร (210,013 ตารางไมล์) ทำให้ประเทศฝรั่งเศสเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มสหภาพยุโรปซึ่งใหญ่กว่าประเทศสเปนเพียงนิดเดียว ประเทศฝรั่งเศสมีพื้นที่ครอบคลุมลักษณะภูมิประเทศที่หลากหลายมาก ตั้งแต่ที่ราบชายฝั่งในภาคเหนือและตะวันตก ซึ่งติดกับทะเลเหนือและมหาสมุทรแอตแลนติก ไปจนถึงเทือกเขาแอลป์ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ ที่ราบสูงมาซิฟซ็องทราลทางภาคใต้ตอนกลางและเทือกเขาพิเรนีสทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ ประเทศฝรั่งเศสยังมีจุดที่สูงที่สุดในทวีปยุโรปตะวันตกคือ ยอดเขามงบล็อง (Mont Blanc) ซึ่งสูง 4,807 เมตร (15,770 ฟุต) ตั้งอยู่บนเทือกเขาแอลป์บริเวณชายแดนประเทศฝรั่งเศสและอิตาลี


        ประเทศฝรั่งเศสภาคพื้นทวีปยุโรปยังมีแม่น้ำต่าง ๆ ที่สำคัญอีกมากมาย เช่น แม่น้ำลัวร์ แม่น้ำการอน แม่น้ำแซน และแม่น้ำโรนซึ่งแบ่งที่ราบสูงมาซิฟซ็องทราลออกจากเทือกเขาแอลป์อีกด้วย โดยไหลลงทะเลเมดิเตอร์เรเนียนที่กามาร์ก ซึ่งเป็นจุดที่ต่ำที่สุดในประเทศฝรั่งเศส (2 เมตร หรือ 6.5 ฟุต จากระดับน้ำทะเล) และยังมีกอร์ส (คอร์ซิกา) ตั้งอยู่บนชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน

        พื้นที่ของประเทศฝรั่งเศส รวมทั้งจังหวัดและดินแดนโพ้นทะเล (ไม่รวมดินแดนอาเดลี) คือ 674,843 ตารางกิโลเมตร (260,558 ตารางไมล์) นับเป็น 0.45% ของพื้นแผ่นดินโลกทั้งหมด แต่อย่างไรก็ตามประเทศฝรั่งเศสครอบครองพื้นที่เขตเศรษฐกิจจำเพาะเป็นอันดับสองของโลก ด้วยเนื้อที่ 11,035,000 ตารางกิโลเมตร(4,260,000 ตารางไมล์) นับเป็น 8% ของพื้นที่เขตเศรษฐกิจจำเพาะทั้งหมดในโลก ตามหลังสหรัฐอเมริกา ไปเพียง 316,000 ตารางกิโลเมตร และนำประเทศออสเตรเลียกว่า 2,886,750 ตารางกิโลเมตร

         ประเทศฝรั่งเศสภาคพื้นทวีปยุโรปตั้งอยู่ระหว่าง 41° and 50° เหนือ บนขอบทวีปยุโรปตะวันตกและตั้งอยู่ในภูมิอากาศเขตอบอุ่นเหนือ ทางภาคเหนือและตะวันตกเฉียงเหนือมีสภาพภูมิอากาศเขตอบอุ่น แต่กระนั้นภูมิประเทศและทะเลก็มีอิทธิพลต่อภูมิอากาศเหมือนกัน ละติจูด ลองจิจูดและความสูงเหนือระดับน้ำทะเลทำให้ประเทศฝรั่งเศสมีภูมิอากาศแบบคละอีกด้วย ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้มีสภาพภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน ภาคตะวันตกส่วนมากจะมีปริมาณน้ำฝนสูง ฤดูหนาวไม่มากและฤดูร้อนเย็นสบาย ภายในประเทศภูมิอากาศจะเปลี่ยนไปทางภาคพื้นทวีปยุโรป อากาศร้อน มีมรสุมในฤดูร้อน ฤดูหนาวหนาวกว่าเดิมและมีฝนตกน้อย ส่วนภูมิอากาศเทือกเขาแอลป์และแถบบริเวณเทือกเขาอื่น ๆ ส่วนมากมักจะมีภูมิอากาศแถบเทือกเขา ด้วยอุณหภูมิต่ำกว่าจุดเยือกแข็งกว่า 150 วันต่อปีและปกคลุมด้วยหิมะกว่า 6 เดือน

ประวัติศาสตร์
           ชาวฝรั่งเศสสืบเชื้อสายมาจากพวกโกล (Gaul)ในศตวรรษที่ 1 จากนั้นตกมาอยู่ใต้การปกครองของพวกแฟรงก์ (ชื่อประเทศ France มาจากคำว่าแฟรงก์เช่นกัน) ปกครองด้วยระบอบกษัตริย์ที่มีบันทึกว่าเริ่มในศตวรรษที่ 5 เมื่อพระเจ้าชาร์เลอมาญตั้งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ใน ค.ศ. 843 ก็มีอาณาเขตครอบคลุมทั้งฝรั่งเศสและเยอรมนี

ราชสำนักฝรั่งเศสขึ้นสู่จุดสูงสุดในรัชสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ซึ่งในยุคนี้ฝรั่งเศสได้เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในยุโรป และมีอำนาจทางการเมือง เศรษฐกิจศิลปะ และ วัฒนธรรม ต่อยุโรปเป็นอย่างมาก

ฝรั่งเศสปกครองด้วยระบอบกษัตริย์จนถึงสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 16ในปี ค.ศ. 1792 จึงเปลี่ยนมาใช้ระบอบสาธารณรัฐ หลังจากนั้นนโปเลียน โบนาปาร์ตได้ตั้งตัวเองเป็นจักรพรรดิและรุกรานประเทศอื่น ๆ ในทวีปยุโรป เมื่อนโปเลียนพ่ายแพ้ ฝรั่งเศสจึงกลับมาใช้ระบบสาธารณรัฐอีกครั้ง เรียกว่ายุคสาธารณรัฐที่สอง แต่ก็อยู่ได้ไม่นานเพราะหลุยส์ นโปเลียน หลานลุงของนโปเลียนได้ยึดประเทศและตั้งจักรวรรดิที่สองอีกครั้ง

ตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 ถึง ทศวรรษที่ 60 ซึ่งเป็นยุคล่าอาณานิคม จักรวรรดิฝรั่งเศสมีพื้นที่ใหญ่มาก โดยช่วงที่ใหญ่ที่สุดคือช่วงยุคทศวรรษที่ 20 ถึง 30 ซึ่งมีกว่า 12,898,000 ตารางกิโลเมตร และเป็นจักรวรรดิอันดับสองของโลก รองมาจากจักรวรรดิอังกฤษ

ฝรั่งเศสได้รับความบอบช้ำอย่างหนักจากสงครามโลกทั้งสองครั้ง ปัจจุบันใช้การปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบที่มีทั้งประธานาธิบดี และนายกรัฐมนตรี (เรียกยุคสาธารณรัฐที่ห้า) ทศวรรษที่ผ่านมาฝรั่งเศสและเยอรมนีเป็นผู้นำของการรวมตัวตั้งประชาคมยุโรป ซึ่งพัฒนามาเป็นสหภาพยุโรปในปัจจุบัน

ฝรั่งเศสยังเป็น 1 ใน 5 สมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ และเป็นประเทศที่มีอาวุธนิวเคลียร์ในครอบครอง

การเมือง
           สาธารณรัฐฝรั่งเศสปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย แบบสาธารณรัฐเดี่ยวกึ่งประธานาธิบดี รัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสได้ประกาศใช้เมื่อวันที่ 28 กันยายนพ.ศ. 2501 โดยผ่านการลงประชามติ สาระสำคัญในรัฐธรรมนูญนั้นคือการเพิ่มอำนาจประธานาธิบดี

การแบ่งเขตการปกครอง
            ประเทศฝรั่งเศสแผ่นดินใหญ่ (Metropolitan France - "France métropolitaine, la Métropole, l'Hexagone") แบ่งการปกครองออกเป็น13 แคว้น (regions - régions)
โดยในแต่ละแคว้นแบ่งออกเป็น จังหวัด (départements) รวมทั้งหมด 96 จังหวัด

นอกจากในทวีปยุโรปแล้ว ประเทศฝรั่งเศสยังมีเขตการปกครองโพ้นทะเล (Overseas) อยู่ในทวีปต่าง ๆ ทั้งอเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ แอฟริกา แอนตาร์กติกา และภูมิภาคโอเชียเนียอีก ได้แก่

5 จังหวัดโพ้นทะเล (Départements d'outre-mers: DOM) ได้แก่ กัวเดอลุป (Guadeloupe) เฟรนช์เกียนา(French Guiana) มาร์ตีนิก (Martinique) เรอูว์นียง (Réunion) และมายอต (Mayotte) ทั้งห้าดินแดนมีฐานะเดียวกับแคว้นในฝรั่งเศสภาคพื้นทวีป (อย่างเดียวกับฮาวายที่มีฐานะเท่าเทียมกับรัฐอื่น ๆ ในสหรัฐอเมริกา) กล่าวคือ เป็นทั้งแคว้นและจังหวัดในเวลาเดียวกัน
4 เขตชุมชนโพ้นทะเล (Collectivités d'outre-mer) ได้แก่ แซงปีแยร์และมีเกอลง (Saint Pierre and Miquelon) วาลลิสและฟุตูนา (Wallis and Futuna) แซ็ง-บาร์เตเลมี (Saint Barthélemy) และแซ็ง-มาร์แต็ง(Saint Martin)
1 ประเทศโพ้นทะเล (Pays d'outre-mer: POM) ดินแดนแห่งเดียวของฝรั่งเศสที่ได้รับการเรียกชื่อนี้คือ เฟรนช์โปลินีเซีย (French Polynesia) ซึ่งเคยเป็นดินแดนโพ้นทะเล (TOM) มาก่อน แต่ได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะในวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2546 โดยแบ่งออกเป็น 5 เขตบริหารย่อย
1 เขตชุมชนรูปแบบพิเศษ (Collectivité sui generis) คือ นิวแคลิโดเนีย (New Caledonia) เคยมีฐานะเป็นดินแดนโพ้นทะเลมาจนถึงปี พ.ศ. 2542 จึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะ แบ่งออกเป็น 3 จังหวัด (provinces) ได้แก่ จังหวัดนอร์ ซูด และอีลลัวโยเต
1 ดินแดนโพ้นทะเล (Territoires d'outre-mer: TOM) คือ เฟรนช์เซาเทิร์นและแอนตาร์กติกแลนส์ (French Southern and Antarctic Lands) โดยแบ่งออกเป็น 4 เขต (districts) ได้แก่ หมู่เกาะแกร์เกแลน (Kerguelen Islands) หมู่เกาะครอเซ (Crozet Islands) เกาะอัมสเตอร์ดัมและเกาะแซ็ง-ปอล (Amsterdam Island and Saint Paul Island) และอาเดลีแลนด์ (Adelie Land)
ดินแดน 5 เกาะในมหาสมุทรอินเดีย ซึ่งไม่มีผู้อาศัยอยู่อย่างถาวร รู้จักกันในชื่อ หมู่เกาะกระจายหรืออีลเซปาร์ส (Îles Éparses) ได้แก่ บาซัสดาอินเดีย (Bassas da India) ยูโรปา (Europa) ฌุอ็องเดอนอวา(Juan de Nova) โกลรีโอโซ (Glorioso) และตรอมแล็ง (Tromelin) ทั้งหมดถูกปกครองโดยจังหวัดโพ้นทะเลเรอูว์นียง
เกาะที่ไม่มีผู้อาศัย 1 แห่ง คือ เกาะกลีแปร์ตอน (Clipperton) อยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก ใกล้ชายฝั่งประเทศเม็กซิโก ปกครองโดยข้าหลวงใหญ่สาธารณรัฐฝรั่งเศสประจำท้องถิ่นโพ้นทะเลเฟรนช์โปลินีเซีย





Présentez-vous

Bonjour😊
Je m’appelle Phetpoom MITDEE.
J’ai 16 ans.
Je suis élève de français à l’école wangklaikangwon.
J’habite à Hua Hin en Thaïlande.
J’aime écoute de la musique et faire du sport
Je déteste les  crocodile.🐊